เทคนิคจำเก่ง ได้ผลเกินคาด

ผมต้องยอมรับว่าเจ็บปวด และพยายามทำความเข้าใจกับเรื่องนี้มานาน คือจะทำยังไงถึงจะจำสิ่งต่างๆ ได้  และจะทำยังไงให้ไม่ลืมในสิ่งที่ต้องการจะจำ? ผมพบว่าก่อนหน้านี้ผมไม่ได้ใช้กระบวนการจดจำที่ถูกต้อง ผลลัพธ์คือ ผมสับสน และในที่สุดก็จำไม่ได้ ส่งผลให้เล่นไม่ได้ ถึงเล่นได้แต่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองเล่นอะไรไป เรื่องของการจำได้ไม่ได้เราต้องเข้าใจก่อนว่า เราจดจำสิ่งต่างๆ ยังไง 
.
พอพูดถึงเรื่องความจำบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง Forgetting Curve ที่เกิดจากผลการทดลองของ นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน แฮร์มันน์ เอบบิงเฮาส์ พบว่าเราจะลืมเนื้อหาหรือข้อมูลที่ได้รับมาส่วนใหญ่75%-80% หากไม่ได้ผ่านขั้นตอนการจดบันทึกและทบทวนอย่างน้อยจำนวน 3 ครั้ง ในช่วงเวลาที่ต่างกัน”_ ซึ่ง เอบบิงเฮาส์ เรียกมันว่า ว่า spaced repetition  ซึ่งมีอยู่มีหลาย interval เลยครับ เช่น (18 นาที 1 วัน และ 7 วัน)
หรือ (24 ชม. 7วัน 1 เดือน) 
.
จริงๆ แล้ว มันคือการที่เรา review หรือทบทวนเนื้อหาโดยเร็วหลังจากได้รับข้อมูลมา หากเริ่มจำได้ให้ลดความบ่อยลงเพื่อทดสอบคุณภาพของความจำอีกครั้ง ส่วนระยะความห่างของแต่ละช่วง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ต้องทดลองดูครับว่า ระยะใหนดีที่สุดกับเรา 
.
การแบ่งช่วงการจำในลักษณะนี้ มันเป็นการสื่อสารกับสมองของเราว่า เราจะเก็บข้อมูลชุดนี้ไว้ เพราะสมองรับหนึ่งวันพันกว่าเรื่อง ใอ้การที่จำได้ก็เรื่องนึง ส่วนคุณภาพของสิ่งที่จำเข้าไปก็อีกเรื่องนะครับ สมองมันแยกคุณภาพของข้อมูลไม่ได้ อะไรที่ทำซ้ำ ๆ ตามสูตรที่ได้แนะนำไป มันก็จำหมดนั้นละ เพราะฉะนั้นอย่าลืมคัดสรรหรือวางแผนในสิ่งที่ต้องการฝึกซ้อมด้วยแนวทางที่เหมาะสมเพราะว่า “เราจะจดจำสิ่งที่เราซ้อมผิดๆ ด้วยเช่นกัน” 
.
เช่นกรณีที่เล่นได้แต่ไม่รู้ว่าเล่นอะไร แต่ละรอบไม่มีมาตรฐานเท่ากัน สมองจำในลักษณะนี้เพราะว่า เราอาจจะใช้เทคนิคการจำด้วยวิธีการที่ต่างกัน พอถึงเวลาแสดงจริงสมองไม่รู้ว่าจะนำข้อมูลชุดใหนมาใช้ แต่ถ้าใช้วิธีการซ้อมที่มีแนวทางการจำที่เหมือนกัน  สมองจะคุ้นเคยกับข้อมูลชุดนั้นและนำมาใช้ได้อย่างมั่นใจ ถ้าทำได้แบบนี้ การจดจำสิ่งต่างๆ จะมีประสิทธิภาพ และยาวนานมากขึ้น